ขั้นตอนการทำลายเอกสาร

กลยุทธ์สรรพากรตรวจสอบและประเมินภาษี

โดยทั่วไปถ้าหากผู้ประกอบการดำเนินการถูกต้อง โอกาสถูกตรวจสอบหรือถูกประเมินภาษีอากรก็เกิดขึ้นได้ยาก แต่ในความเป็นจริง สถานะการเงินการคลังของประเทศก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้กรมสรรพากรมุ่งจะตรวจสอบผู้ประกอบการที่ประกอบถูกต้อง เพราะอาจพบ ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงต้องเตรียมพร้อม เพราะแม้หากจะมีการตรวจ หรือประเมินภาษีอากรแล้ว ผู้ประกอบการก็สามารถเจรจากับเจ้าพนักงานได้ และหากถูกประเมิน ก็สามารถอุทรณ์การประเมินดังกล่าวต่อคณะกรรมการอุทธรณ์หรือต่อศาล เพื่อให้คำอุทรณ์ของตนได้รับชัยชนะถึงที่สุด 1. ผู้ประกอบการควรจะจัดทำบัญชี รววทั้งการยื่นแบบเสียภาษีให้ถูกต้อง โดยจะต้องดูให้ถูกต้อง อย่าให้มีข้อผิดพลาด เพราะการยื่นแบบ หรือการทำบัญชีที่ผิดพลาดนั้น จะเป็นจุดหนึ่งที่จะทำให้เจ้าหน้าที่สงสัย และเริ่มให้มีการตรวจสอบผู้เสียภาษีอากรนั้นเสียภาษีถูกต้องหรือไม่ อาทิเช่น ในกรณีที่เป็นบริษัท ต้องดูว่าแบบที่ยื่น โดยเฉพาะการหักค่าใช้จ่ายนั้น ไม่ควรจะเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องห้าม หรือมีปัญหา ในกรณีที่เป็นบุคคลธรรมดาก็ต้องดูว่า ค่าใช้จ่ายที่หักนั้นเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่เกินอัตราที่กฏหมายกำหนด การทำบัญชีหรือยื่นแบบควรเป็นหน้าที่ของ นักบัญชี และนักกฏหมาย ผู้มีความชำนาญในเรื่องภาษีอากรโดยเฉพาะ 2. หากจะต้องมีการขอคืนภาษี หัก ณ ที่จ่าย ไม่ว่าจะเป็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา นิติบุคคล หรือภาษีซื้อของภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นผู้ประกอบการต้องมั่นใจว่า จำนวนเงินที่ขอคืนภาษีกับผลกระทบที่อาจจะได้รับในการตรวจสอบภาษีนั้น จะคุ้มกัน เพราะมิฉะนั้นแล้ว หากการขอคืนภาษี กรมสรรพากรก็อาจจะมีการตรวจสอบบัญชีของผู้ประกอบการและอาจจะพบว่าผู้เสียภาษีเสียภาษีไม่ถูกต้องในหลายรายการ จึงควรจะต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมาก และปัจจุบันกรมสรรพากรก็ได้ระบุในแบบยื่นเสียภาษีให้บริษัทขอคืนภาษีเลย เพื่อสะดวกในการตรวจสอบ ดังนั้น ผู้ประกอบการควรเสียภาษีให้ถูกค้อง เพราะอาจถูกตรวจสอบจากการขอคืน 3. เมื่อมีหมายเรียกตรวจสอบภาษีมาควรต้องพิจารณาดูว่าหมายเรียกหรือหนังสือแจ้งให้เสียภาษีอากรหรือการประเมินนั้น…

ทำบัญชีอย่างไรให้สรรพากรยอมรับ

เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับการประกอบธุรกิจที่ผู้ประกอบการทุกรายจะต้องทำบัญชี ไม่เพียงแต่เฉพาะทำรายการรับเงินเข้าหรือจ่ายเงินออกเพื่อให้ทราบผลกำไรขาดทุน งบดุล หรืองบกระแสเงินสดเท่านั้น แต่ผู้ประกอบการต้องลงบัญชีให้ถูกต้อง ถูกวิธี และกฎหมาย เมื่อใดที่เจ้าหน้าที่สรรพากรเข้ามาตรวจสอบอย่างครบถ้วน ผู้ประกอบการจะทำบัญชีได้อย่างถูกต้องนั้นมีผู้เชี่ยวชาญทางบัญชีเคยบอกกล่าวไว้ว่า ในเบื้องต้นผู้ทำบัญชีจะต้องมีความรู้ในธุรกิจที่ทำให้ดีเสียก่อน นอกจากนี้ก็ต้องมีระบบบัญชี ที่ดี มีเอกสารการรับเงินจ่ายเงิน สต๊อคสินค้า ส่งสินค้าให้ครบถ้วนตามพระราชบัญญัติการบัญชี พศ.2543 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ประมวลรัษฏากร เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมอยู่ตลอดสำหรับการเข้าตรวจสอบของสรรพากร ประเภทธุรกิจที่แตกต่างกัน ก็จะมีรายละเอียดในการทำบัญชีแตกต่างกันเช่น ธุรกิจบริการ ต้องไม่ลืมที่จะคำนวณภาษี ณ ที่จ่ายทุกครั้งที่เกิดการให้บริการ หรือธุรกิจผลิตสินค้า ต้องตีความให้ถูกต้องว่าสินค้าใด ผลิดเพื่อขายสินค้าใดรับจ้างผลิต ซึ่งจะมีการลงบัญชีแตกต่างกัน สำหรับธุรกิจนำเข้า-ส่งออก จะต้องแยกแยะให้ชัดเจนว่าเป็นธุรกรรมประเภทใด การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการให้เช่า ก็จะมีการลงบัญชีที่แตกต่างกัน วัตถุประสงค์ของการจัดทำบัญชีสำหรับกิจการหลักๆ คือ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ใช้ประกอบการตัดสินใจภาวะสำคัญ และเพื่อประกอบการพิจารณาเป้าหมายของกิจการ นอกจากนั้น การทำบัญชียังมีประโยชน์เพื่อการสั่งการ การอำนวยการ การควบคุมบุคลากร และทรัพยากรที่สำคัญขององค์กรให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผล เพื่อให้แน่ใจว่ามีการรายงานและดำรงรักษาไว้ซึ่งทรัพยากรที่สำคัญขององค์กร และเพื่ออำนวยความสะดวกต่อการควบคุมและเพื่อหน้าที่ทางสังคม ซึ่งเจ้าของกิจการ กรรมการ ผู้ถือหุ้น ต้องตระหนักถึงการมีระบบบัญชีที่ดีการจัดการทางบัญชีที่ดีต้องมีการจัดสายงานที่ดี มีระบบในการทำงานร่วมกัน ระบุหน้าที่รับผิดชอบที่ชัดเจน และมีการใช้กำลังคนที่เหมาะสมกับงาน…

ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมกรรมการ

เงินกู้ยืมกรรมการที่มักจะปรากฏอยู่ในงบดุลฝั่งลูกหนี้ เนื่องจากเงินสดของกิจการมีมาก แต่ไม่สามารถให้ตรวจนับได้ จะด้วยสาเหตุอะไรก็แล้วแต่ สำหรับกิจการเอสเอ็มอี บัญชีที่จะถูกนักบัญชีไปพักไว้ก็คือบัญชีลูกหนี้เงินกู้ยืมกรรมการ หรือเงินกู้ยืมกรรมการตามมาตรา 65 ทวิ(4) แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดไว้ว่า กิจการต้องแสดงหรือรับรู้รายได้ หรือค่าตอบแทนจากโอนทรัพย์สิน รายได้ค่าบริการ และดอกเบี้ยจากการให้กู้ยืมเงิน เพื่อการคำนวณกำไร หรือขาดทุนสุทธิทางภาษีอากรตามราคาตลาด ณ วันที่มีการโอนขายทรัพย์สิน หรือสินค้าให้บริการ หรือให้กู้ยืมเงินนั้น ในกรณีที่ผลตอบแทนดังกล่าว หรือได้รับผลตอบแทน แต่ต่ำกว่าราคาตลาด ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ผู้ประกอบการไม่สามารถแสดงเหตุผลอันสมควร เจ้าหน้าที่กรมสรรพากร มีอำนาจประเมินผลตอบแทนให้เป็นไปตามราคาในวันที่เกิดกิจการมีรายได้นั้นได้ สำหรับลูกหนี้เงินกู้ยืมกรรมการ อัตราดอกเบี้ยที่ควรจะเป็น ได้แก่ อัตราที่กิจการกู้ยืมมาจากสถาบันการเงินอื่น หรือกู้ยืมจากบุคคลภาย นอกแต่ถ้ากิจการนำเงินสดในมือของตนออกให้กู้ยืม โดยมิได้มีแหล่งเงินกู้ยืมเลยให้ใช้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารพาณิชยืในขณะนั้น สำหรับระยะเวลา 1 ปีเป็นเกณฑ์(หนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0802/936 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2532) (หนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0802(ก)/3598 ลงวันที่ 10 สิงหาคม 2535) อ้างอิงหนังสือการบัญชีภาษีอากร ของอาจารย์สุเทพ พงษ์พิทักษ์ เขียนไว้ “เงื่อนไขเกี่ยวกับรายได้ทางภาษีเงินได้นิติบุคคล” ข้อ…

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับธุรกิจ

การประกอบธุรกิจการค้าอาจดำเนินการได้หลายรูปแบบทั้งโดยบุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของกิจการโดยลำพัง หรืออาจดำเนินการโดยร่วมลงทุนกับบุคคลอื่นเป็นกลุ่มคณะก็ได้การที่จะตัดสินใจเลือกดำเนินธุรกิจการค้าในรูปแบบใดนั้น ผู้ประกอบการจะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบที่สำคัญหลายประการด้วยกัน เช่น ลักษณะของกิจการค้า เงินทุน ความรู้ความสามารถในการดำเนินธุรกิจเป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้การประกอบธุรกิจนั้นประสบผลสำเร็จ นำมาซึ่งผลประโยชน์และกำไรสูงสุด รูปแบบองค์กรธุรกิจ เป็นนิติบุคคล (จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย) ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน แบ่งเป็น ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน และห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด องค์การธุรกิจ จัดตั้งหรือจดทะเบียนภายใต้กฎหมายเฉพาะ ไม่เป็นนิติบุคคล (อาจต้องจดทะเบียนตาม พ.ร.บ. ทะเบียนพาณิชย์) กิจการเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วนสามัญ ความรู้เบื้องต้น – ห้างหุ้นส่วน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แบ่งห้างหุ้นส่วนออกเป็น 2 ประเภท คือ(1) ห้างหุ้นส่วนสามัญ(2) ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญ คือห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกเดียว โดยผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้สินทั้งปวงของห้างหุ้นส่วนไม่จำกัดจำนวนห้างหุ้นส่วนสามัญ จะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือไม่ก็ได้ ดังนั้นห้างหุ้นส่วนสามัญจึงแยกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ(1) ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิได้จดทะเบียน ซึ่งไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย(2) ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ซึ่งมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายและมีชื่อเรียกโดยเฉพาะว่า “ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล” โครงสร้างห้างหุ้นส่วนสามัญ(1) มีผู้เป็นหุ้นส่วนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป(2) มีผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกเดียว คือ หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดชอบ โดยผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดชอบร่วมกันในบรรดาหนี้สินทั้งปวง…

กิจการรับเหมาก่อสร้าง

การให้บริการรับเหมาก่อสร้างจะมีการเก็บเงินจ่ายล่วงหน้าจากผู้ว่าจ้าง ส่วนใหญ่ผู้ว่าจ้างจะหักเงินดังกล่าวออกจากเงินค่าจ้างที่ผู้รับจ้างจะได้ รับในแต่ละงวด เพื่อชดเชยกับเงินจ่ายล่วงหน้าที่รับไปจนกว่าจะครบถ้วน พร้อมทั้งหักเงินค่าประกันผลงานของผู้รับจ้างไว้อีกส่วนหนึ่ง และจะคืนเงินประกันผลงานให้แก่ผู้รับจ้าง เมื่อหมดระยะเวลาประกันผลงานจะต้องมีภาระภาษี คือ เงินจ่ายล่วงหน้า (ADVANCE PAYMENT) ผู้ รับจ้างจะต้องนำเงินจ่ายล่วงหน้ามารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้ว่าจ้าง เมื่อจ่ายเงินล่วงหน้ามีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ของเงินล่วงหน้า ผู้รับจ้างต้องนำเงินจ่ายล่วงหน้ามารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร เงินประกันผลงาน (RETENTION) เงิน ประกันผลงานที่ผู้รับจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายให้แก่ผู้ว่าจ้างตามจำนวนที่ตกลง ในสัญญา โดยยินยอมให้ผู้ว่าจ้างหักเงินดังกล่าวจากเงินค่าจ้างในแต่ละงวดเพื่อเป็น ประกันผลงานนั้น เมื่อผู้ว่าจ้างจ่ายเงินค่าจ้างแต่ละงวดให้ผู้รับจ้างโดยหักเงินประกันผลงาน ดังกล่าว ให้ถือเป็นรายได้ของผู้รับจ้างเต็มจำนวนมูลค่าของงานที่แล้วเสร็จในแต่ละงวด และเมื่อผู้ว่าจ้างจ่ายคืนเงินประกันผลงานให้แก่ผู้รับจ้าง ผู้ว่าจ้างไม่มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายอีก ผู้ รับจ้างต้องนำเงินประกันผลงานที่ถูกผู้ว่าจ้างหักจากเงินค่าจ้างแต่ละงวดมา รวมคำนวณเป็นมูลค่าฐานภาษีตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อมีการจ่ายเงินประกันผลงานให้แก่ผู้รับจ้าง ผู้รับจ้างไม่ต้องนำเงินประกันผลงานมาเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอีก

ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

มาตรา 78 ภายใต้บังคับตามมาตรา 78/3 ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการขายสินค้าให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ การขายสินค้านอกจากที่อยู่ในบังคับตาม (2)(3)(4) หรือ (5) ให้ความรับผิดทั้งหมดเกิดขึ้นเมื่อส่งมอบสินค้า เว้นแต่กรณีที่ได้มีการกระทำ ดังต่อไปนี้เกิดขึ้นก่อนส่งมอบสินค้า ก็ให้ถือว่าความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อได้มีการ กระทำนั้น ๆ ด้วย โอนกรรมสิทธิ์สินค้า ได้รับชำระราคาสินค้า หรือ ได้ออกใบกำกับภาษี ทั้งนี้โดยให้ความรับผิดเกิดขึ้นตามส่วนของการกระทำนั้น ๆ แล้วแต่กรณี การขายสินค้าตามสัญญาให้เช่าซื้อหรือสัญญาขาย ผ่อนชำระที่กรรมสิทธิ์ในสินค้ายังไม่โอนไปยังผู้ซื้อเมื่อได้ส่งมอบ ให้ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อ ถึงกำหนดชำระราคาตามงวดที่ถึงกำหนดชำระราคาแต่ละงวด เว้นแต่กรณีที่ ได้มีการกระทำดังต่อไปนี้เกิดขึ้นก่อนถึงกำหนดชำระราคาแต่ละงวด ก็ให้ถือ ว่าความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อได้มีการกระทำนั้น ๆ ด้วย ได้รับชำระราคาสินค้า หรือ ได้ออกใบกำกับภาษี ทั้งนี้โดยให้ความรับผิดเกิดขึ้นตามส่วนของการกระทำนั้น ๆ แล้วแต่กรณี การขายสินค้าโดยมีการตั้งตัวแทนเพื่อขาย และได้ส่งมอบสินค้าให้ ตัวแทนแล้ว ทั้งนี้ เฉพาะสัญญาการตั้งตัวแทนเพื่อขายประเภทของสินค้า และ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี ให้ความรับผิดทั้งหมดเกิดขึ้นเมื่อตัวแทนได้ส่งมอบสินค้าให้ผู้ซื้อ เว้นแต่กรณี ที่ได้มีการกระทำดังต่อไปนี้เกิดขึ้นก่อนการส่งมอบสินค้าให้ผู้ซื้อ ก็ให้ถือว่า ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อได้มีการกระทำนั้น ๆ ด้วย ตัวแทนได้โอนกรรมสิทธิ์สินค้าให้ผู้ซื้อ ตัวแทนได้รับชำระราคาสินค้า ตัวแทนได้ออกใบกำกับภาษี หรือ ได้มีการนำสินค้าไปใช้ไม่ว่าโดยตัวแทนหรือบุคคลอื่น ทั้งนี้โดยให้ความรับผิดเกิดขึ้นตามส่วนของการกระทำนั้น ๆ…

สรุปหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

รายการกิจกรรมภาษีมูลค่าเพิ่ม หลักการเกี่ยวกับความรับผิด (Tax Point) การขายสินค้า – ขายเสร็จเด็ดขาด สัญญาจะขาย – เมื่อมีการส่งมอบสินค้า เว้นแต่มีการโอนกรรมสิทธิ์ / รับชำระราคา / ออกใบกำกับภาษี – เช่าซื้อ/ ขายผ่อนชำระ ที่กรรมสิทธิ์ยังไม่โอนไปยังผู้ซื้อ – ตามงวดที่ถึงกำหนดชำระ เว้นแต่มีการรับชำระราคา / ออกใบกำกับภาษีก่อนถึงกำหนดชำระราคาแต่ละงวด – การฝากขายที่เป็นไปตามเงื่อนแห่งประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 8) – เมื่อตัวแทนส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกค้า เว้นแต่ตัวแทนได้โอนกรรมสิทธิ์/รับชำระราคา/ออกใบกำกับภาษี/ตัวแทนนำสินค้าไปใช้ก่อนส่งมอบให้แก่ลูกค้า – การส่งออก – เมื่อมีการผ่านพิธีการทางศุลกากร – การขายกระแสไฟฟ้า น้ำประปา หรือสินค้าที่ไม่มีรูปร่าง – เมื่อรับชำระราคา เว้นแต่มีการออกใบกำกับภาษีก่อนรับชำระราคา – การขายสินค้าด้วยเครื่องอัตโนมัติ – เมื่อนำเงินออกจากเครื่องอัตโนมัติ – กรณีจำหน่าย จ่าย โอนสินค้าโดยไม่มีค่าตอบแทน – เมื่อส่งมอบสินค้า เว้นแต่มีการโอนกรรมสิทธิ์ก่อนส่งมอบสินค้า – กรณีนำสินค้าไปใช้ในกิจการอื่น…

ภาษีซื้อต้องห้าม

การที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีภาษีซื้อที่จะขอคืนจะต้องทราบว่า ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มได้แบ่งภาษีซื้อไว้ดังนี้ 1. ภาษีซื้อขอคืนได้ หรือ เครดิตภาษีขายได้ 2. ภาษีซื้อต้องห้าม ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ 2.1 ภาษีซื้อห้ามขอคืน แต่นำไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ซึ่งได้แก่ ภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายเพื่อการรับรองหรือเพื่อการอันมีลักษณะทำนองเดียวกันตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด ภาษีซื้อตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับที่ 42 (ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากรด้านล่าง) 2.2 ภาษีซื้อห้ามขอคืน และห้ามถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ซึ่งได้แก่ภาษีซื้อในกรณีดังต่อไปนี้ ไม่ให้นำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีไม่มีใบกำกับภาษีหรือไม่อาจแสดงใบกำกับภาษีได้ว่ามีการชำระภาษีซื้อ เว้นแต่จะเป็นกรณีมีเหตุอันสมควร กรณีใบกำกับภาษีมีข้อความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ ภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการของผู้ประกอบการ ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีซึ่งออกโดยผู้ที่ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี ผู้ประกอบการหรือผู้ประกอบธุรกิจที่ได้จดทะเบียนอยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องทำความเข้าใจภาษีมูลค่าเพิ่มในแต่ละขั้นตอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการขอภาษีซื้อตลอดจนหลักฐานในใบกำกับภาษีซื้อที่จะต้องเก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี เพื่อให้เจ้าพนักงานประเมินของกรมสรรพากรตรวจสอบได้ และเมื่อมีใบกำกับภาษีซื้อเกิดขึ้นจะต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขดังกล่าวข้างต้นที่ภาษีซื้อบางประเภทอาจไม่สิทธิขอคืนก็ได้ ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) เรื่อง การกำหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นำไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5 (6) แห่งประมวลรัษฎากร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กำหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นำไปหักในการคำนวณภาษี ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร…

ความรับผิดของผู้จ่ายเงินได้ กรณีไม่นำส่งภาษี หัก ณ ที่จ่าย

1.1 ความรับผิดในจำนวนเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย (มาตรา 54 แห่งประมวลรัษฎากร)

กรณีที่ ไม่ได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและนำส่ง หรือหักและนำส่งไว้แล้วแต่ยังไม่ถูกต้อง ครบถ้วน ผู้จ่ายเงินได้ต้องร่วมรับผิดกับผู้มีเงินได้ในจำนวนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่ยังหักและนำส่งไว้ไม่ครบถ้วนนั้น
กรณีที่ ได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้แล้ว ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน แต่มิได้นำส่งแก่ทางราชการ ผู้จ่ายเงินได้ต้องรับผิดในจำนวนภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่ได้หักไว้แล้วนั้นเพียงฝ่ายเดียว