กลยุทธ์สรรพากรตรวจสอบและประเมินภาษี

โดยทั่วไปถ้าหากผู้ประกอบการดำเนินการถูกต้อง โอกาสถูกตรวจสอบหรือถูกประเมินภาษีอากรก็เกิดขึ้นได้ยาก แต่ในความเป็นจริง สถานะการเงินการคลังของประเทศก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้กรมสรรพากรมุ่งจะตรวจสอบผู้ประกอบการที่ประกอบถูกต้อง เพราะอาจพบ ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงต้องเตรียมพร้อม เพราะแม้หากจะมีการตรวจ หรือประเมินภาษีอากรแล้ว ผู้ประกอบการก็สามารถเจรจากับเจ้าพนักงานได้ และหากถูกประเมิน ก็สามารถอุทรณ์การประเมินดังกล่าวต่อคณะกรรมการอุทธรณ์หรือต่อศาล เพื่อให้คำอุทรณ์ของตนได้รับชัยชนะถึงที่สุด 1. ผู้ประกอบการควรจะจัดทำบัญชี รววทั้งการยื่นแบบเสียภาษีให้ถูกต้อง โดยจะต้องดูให้ถูกต้อง อย่าให้มีข้อผิดพลาด เพราะการยื่นแบบ หรือการทำบัญชีที่ผิดพลาดนั้น…

Read more

ทำบัญชีอย่างไรให้สรรพากรยอมรับ

เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับการประกอบธุรกิจที่ผู้ประกอบการทุกรายจะต้องทำบัญชี ไม่เพียงแต่เฉพาะทำรายการรับเงินเข้าหรือจ่ายเงินออกเพื่อให้ทราบผลกำไรขาดทุน งบดุล หรืองบกระแสเงินสดเท่านั้น แต่ผู้ประกอบการต้องลงบัญชีให้ถูกต้อง ถูกวิธี และกฎหมาย เมื่อใดที่เจ้าหน้าที่สรรพากรเข้ามาตรวจสอบอย่างครบถ้วน ผู้ประกอบการจะทำบัญชีได้อย่างถูกต้องนั้นมีผู้เชี่ยวชาญทางบัญชีเคยบอกกล่าวไว้ว่า ในเบื้องต้นผู้ทำบัญชีจะต้องมีความรู้ในธุรกิจที่ทำให้ดีเสียก่อน นอกจากนี้ก็ต้องมีระบบบัญชี ที่ดี มีเอกสารการรับเงินจ่ายเงิน สต๊อคสินค้า ส่งสินค้าให้ครบถ้วนตามพระราชบัญญัติการบัญชี พศ.2543 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ประมวลรัษฏากร เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมอยู่ตลอดสำหรับการเข้าตรวจสอบของสรรพากร…

Read more

ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมกรรมการ

เงินกู้ยืมกรรมการที่มักจะปรากฏอยู่ในงบดุลฝั่งลูกหนี้ เนื่องจากเงินสดของกิจการมีมาก แต่ไม่สามารถให้ตรวจนับได้ จะด้วยสาเหตุอะไรก็แล้วแต่ สำหรับกิจการเอสเอ็มอี บัญชีที่จะถูกนักบัญชีไปพักไว้ก็คือบัญชีลูกหนี้เงินกู้ยืมกรรมการ หรือเงินกู้ยืมกรรมการตามมาตรา 65 ทวิ(4) แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดไว้ว่า กิจการต้องแสดงหรือรับรู้รายได้ หรือค่าตอบแทนจากโอนทรัพย์สิน รายได้ค่าบริการ และดอกเบี้ยจากการให้กู้ยืมเงิน เพื่อการคำนวณกำไร หรือขาดทุนสุทธิทางภาษีอากรตามราคาตลาด ณ วันที่มีการโอนขายทรัพย์สิน หรือสินค้าให้บริการ…

Read more

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับธุรกิจ

การประกอบธุรกิจการค้าอาจดำเนินการได้หลายรูปแบบทั้งโดยบุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของกิจการโดยลำพัง หรืออาจดำเนินการโดยร่วมลงทุนกับบุคคลอื่นเป็นกลุ่มคณะก็ได้การที่จะตัดสินใจเลือกดำเนินธุรกิจการค้าในรูปแบบใดนั้น ผู้ประกอบการจะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบที่สำคัญหลายประการด้วยกัน เช่น ลักษณะของกิจการค้า เงินทุน ความรู้ความสามารถในการดำเนินธุรกิจเป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้การประกอบธุรกิจนั้นประสบผลสำเร็จ นำมาซึ่งผลประโยชน์และกำไรสูงสุด รูปแบบองค์กรธุรกิจ เป็นนิติบุคคล (จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย) ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน แบ่งเป็น ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน และห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด องค์การธุรกิจ จัดตั้งหรือจดทะเบียนภายใต้กฎหมายเฉพาะ…

Read more

กิจการรับเหมาก่อสร้าง

การให้บริการรับเหมาก่อสร้างจะมีการเก็บเงินจ่ายล่วงหน้าจากผู้ว่าจ้าง ส่วนใหญ่ผู้ว่าจ้างจะหักเงินดังกล่าวออกจากเงินค่าจ้างที่ผู้รับจ้างจะได้ รับในแต่ละงวด เพื่อชดเชยกับเงินจ่ายล่วงหน้าที่รับไปจนกว่าจะครบถ้วน พร้อมทั้งหักเงินค่าประกันผลงานของผู้รับจ้างไว้อีกส่วนหนึ่ง และจะคืนเงินประกันผลงานให้แก่ผู้รับจ้าง เมื่อหมดระยะเวลาประกันผลงานจะต้องมีภาระภาษี คือ เงินจ่ายล่วงหน้า (ADVANCE PAYMENT) ผู้ รับจ้างจะต้องนำเงินจ่ายล่วงหน้ามารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้ว่าจ้าง เมื่อจ่ายเงินล่วงหน้ามีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ของเงินล่วงหน้า ผู้รับจ้างต้องนำเงินจ่ายล่วงหน้ามารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษี…

Read more

ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

มาตรา 78 ภายใต้บังคับตามมาตรา 78/3 ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการขายสินค้าให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ การขายสินค้านอกจากที่อยู่ในบังคับตาม (2)(3)(4) หรือ (5) ให้ความรับผิดทั้งหมดเกิดขึ้นเมื่อส่งมอบสินค้า เว้นแต่กรณีที่ได้มีการกระทำ ดังต่อไปนี้เกิดขึ้นก่อนส่งมอบสินค้า ก็ให้ถือว่าความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อได้มีการ กระทำนั้น ๆ ด้วย โอนกรรมสิทธิ์สินค้า ได้รับชำระราคาสินค้า หรือ ได้ออกใบกำกับภาษี ทั้งนี้โดยให้ความรับผิดเกิดขึ้นตามส่วนของการกระทำนั้น ๆ แล้วแต่กรณี การขายสินค้าตามสัญญาให้เช่าซื้อหรือสัญญาขาย ผ่อนชำระที่กรรมสิทธิ์ในสินค้ายังไม่โอนไปยังผู้ซื้อเมื่อได้ส่งมอบ ให้ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อ ถึงกำหนดชำระราคาตามงวดที่ถึงกำหนดชำระราคาแต่ละงวด…

Read more

สรุปหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

รายการกิจกรรมภาษีมูลค่าเพิ่ม หลักการเกี่ยวกับความรับผิด (Tax Point) การขายสินค้า – ขายเสร็จเด็ดขาด สัญญาจะขาย – เมื่อมีการส่งมอบสินค้า เว้นแต่มีการโอนกรรมสิทธิ์ / รับชำระราคา / ออกใบกำกับภาษี – เช่าซื้อ/ ขายผ่อนชำระ ที่กรรมสิทธิ์ยังไม่โอนไปยังผู้ซื้อ –…

Read more

ภาษีซื้อต้องห้าม

การที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีภาษีซื้อที่จะขอคืนจะต้องทราบว่า ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มได้แบ่งภาษีซื้อไว้ดังนี้ 1. ภาษีซื้อขอคืนได้ หรือ เครดิตภาษีขายได้ 2. ภาษีซื้อต้องห้าม ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ 2.1 ภาษีซื้อห้ามขอคืน แต่นำไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ซึ่งได้แก่ ภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายเพื่อการรับรองหรือเพื่อการอันมีลักษณะทำนองเดียวกันตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด ภาษีซื้อตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับที่ 42 (ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากรด้านล่าง) 2.2…

Read more

ความรับผิดของผู้จ่ายเงินได้ กรณีไม่นำส่งภาษี หัก ณ ที่จ่าย

1.1 ความรับผิดในจำนวนเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย (มาตรา 54 แห่งประมวลรัษฎากร) กรณีที่ ไม่ได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและนำส่ง หรือหักและนำส่งไว้แล้วแต่ยังไม่ถูกต้อง ครบถ้วน ผู้จ่ายเงินได้ต้องร่วมรับผิดกับผู้มีเงินได้ในจำนวนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่ยังหักและนำส่งไว้ไม่ครบถ้วนนั้น กรณีที่ ได้หักภาษีเงินได้ ณ…

Read more