รายการกิจกรรมภาษีมูลค่าเพิ่มหลักการเกี่ยวกับความรับผิด (Tax Point)
การขายสินค้า
– ขายเสร็จเด็ดขาด สัญญาจะขาย– เมื่อมีการส่งมอบสินค้า เว้นแต่มีการโอนกรรมสิทธิ์ / รับชำระราคา / ออกใบกำกับภาษี
– เช่าซื้อ/ ขายผ่อนชำระ ที่กรรมสิทธิ์ยังไม่โอนไปยังผู้ซื้อ– ตามงวดที่ถึงกำหนดชำระ เว้นแต่มีการรับชำระราคา / ออกใบกำกับภาษีก่อนถึงกำหนดชำระราคาแต่ละงวด
– การฝากขายที่เป็นไปตามเงื่อนแห่งประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 8)– เมื่อตัวแทนส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกค้า เว้นแต่ตัวแทนได้โอนกรรมสิทธิ์/รับชำระราคา/ออกใบกำกับภาษี/ตัวแทนนำสินค้าไปใช้ก่อนส่งมอบให้แก่ลูกค้า
– การส่งออก– เมื่อมีการผ่านพิธีการทางศุลกากร
– การขายกระแสไฟฟ้า น้ำประปา หรือสินค้าที่ไม่มีรูปร่าง– เมื่อรับชำระราคา เว้นแต่มีการออกใบกำกับภาษีก่อนรับชำระราคา
– การขายสินค้าด้วยเครื่องอัตโนมัติ– เมื่อนำเงินออกจากเครื่องอัตโนมัติ
– กรณีจำหน่าย จ่าย โอนสินค้าโดยไม่มีค่าตอบแทน– เมื่อส่งมอบสินค้า เว้นแต่มีการโอนกรรมสิทธิ์ก่อนส่งมอบสินค้า
– กรณีนำสินค้าไปใช้ในกิจการอื่น– เมื่อนำไปใช้
– กรณีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ– เมื่อตรวจพบ
– กรณีมีสินค้าหรือทรัพย์ในวันเลิกกิจการ– เมื่อเลิกกิจการ
– กรณีรับโอนกรรมสิทธิ์สินค้าที่เคยเสีย VAT อัตรา 0%– เมื่อโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้า
การให้บริการ
– การให้บริการโดยมีค่าตอบแทน– เมื่อมีการรับชำระราคา เว้นแต่มีการออกใบกำกับภาษีก่อนรับชำระราคา
– ให้บริการโดยไม่มีสิ่งตอบแทน– เมื่อมีการใช้บริการ ไม่ว่าโดยตนเองหรือบุคคลอื่น
– การให้บริการที่กระทำในต่างประเทศและใช้บริการนั้นในไทย-เมื่อชำระราคาค่าบริการ (นำส่ง VAT อัตรา 7% โดยยื่น แบบ ภ.พ.36 )
– การให้บริการด้วยเครื่องอัตโนมัติ– เมื่อนำเงินออกจากเครื่อง (กรณีการ์ดโฟน ถือว่าชำระราคาก่อนให้บริการ)
– การรับชำระราคาค่าบริการด้วยบัตรเครดิต– เมื่อมีการออกหลักฐานการใช้บัตรเครดิต
– กรณีรับโอนกรรมสิทธิ์ ในบริการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มอัตรา 0%– เมื่อชำระราคาค่าบริการ
การนำเข้า
– การนำเข้าสินค้าทุกกรณี– เมื่อผ่านพิธีการทางศุลกากร
– การขายของตกค้าง (โดยกรมศุลกากร)– เมื่อได้ขายทอดตลาดหรือขายโดยวิธีการอื่น
– กรณีผิดเงื่อนไขเกี่ยวกับสินค้านำเข้าที่จำแนกผระเภทไว้ในภาคว่าด้วยของที่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้า– เกิดขึ้นพร้อมกับความรับผิดตามกฏหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร

Leave a Reply

Your email address will not be published.